ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล ( Data or raw data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ (fact) ที่เกิดขึ้น ที่มีอยู่ในโลก ใช้แทนด้วยตัวเลข ภาษา หรือสัญลักษณ์ที่ยังไม่มีการปรุงแต่งหรือประมวลไดๆ )ถ้าเห็นนคำว่าข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้และมีความหมายในตัวเอง
สารสนเทศ (Information) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ มาผ่านกระบวนการ (process) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ หรือหมายถึงข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์ หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้
(ภาพที่5.1)
ความแตกต่างระหว่างข้อมูล( Data or Raw Data ) เราอาจเปรียบเทียบได้กับวัตถุดิบซึ่งไม่ได้ผ่านกระบานการใด เช่น เราาต้องการอาหารจานเด็ดสำหรับมื้อค่ำ เราต้องนำวัตถุดิบเพื่อนำมาปรับปรุงเพื่อให้เป็นอาหารที่สามารถรับประทานได้ ซึ่งข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน ถ้าเราจะนำข้อมูลที่ยังไม่ผ่านกระบวนการใดๆ มาใช้ เราก็อาจไม่สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ได้เลยหรือไม่สามารถใช้ได้มากนัก ตัวอย่างข้อมูลทางธุรกิจ เช่น ชนิดของสินค้า จำนวนผู้ขาย จำนวนที่ขาย ข้อมูลเหล่านี้ถ้าไม่มีการเก็บรวบรวม เช่น จำนวน 100 200 300 ถ้ากล่าวอ้างมาเฉยๆเราก้อจะทราบแต่เพียงว่่าเป็นตัวเลข 100 200 300 แต่เราคงไม่เข้าใจว่าตัวเลขเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร และก็จะไม่มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ แต่ถ้าเรานำข้อมูลเหล่านี้มาเก็บรวบรวมโดยกำหนดว่าข้อมูล 100 200 300 หมายถึงจำนวนสินค้าที่ขายได้และเมื่อนำมาผ่านกระบวนการ( process ) เช่นการนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณยอด เราก็จะได้ว่าจำนวนสินค้าที่ขายทั้งหมด คือ 600หน่วย เราเรียกว่าข้อมูลเหล่านี้นำมาผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนเหล่านี้ว่า สารสนเทศ (Information)ซึ่งการใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์อาจมีความแตกต่างกัน เช่น การใช้สารสนเทศในระบบในธูรกิจสำหรับบผู้บริหารระดับสูง คงต้องการเพียงรายงานสรุปเพื่อนำไปตัดสินใจในการวางแผนในการทำงานต่อไป เช่น ขณะนี้เหลือสินค้าอยู่เท่าไร ควรจะผลิตเพิ่มหรือไม่ แต่ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติงานคงต้องการรายงานที่มีความละเอียดเพื่อตรวจเช็คความถูกต้อง
ฉะนั้น เมื่อกล่าวถึง "สารสนเทศ" ย่อมหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลียนแปลงโดยการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ที่มีความเกี่ยวข้องกันมาจัดกระทำหรือประมวลผล เพื่อให้มีความหมายหรือคุณค่าเพิ่มขึ้น ตาามวัตถุประสงค์การใช้
(ภาพที่่5.2)
การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
กิจกรรม
|
ข้อมูล
|
สารสนเทศ
|
การขายสินค้า | รายการขายสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ทุกวัน | สรุปยอดขายจำแนกตาามประเภทสินค้าและบริการ |
สินค้า | มูลค่าการรขายสิยนค้าแต่ละราายการทุกประเภทในแต่ละวัน | สรุปยอดขายสินค้าทังหมด สรุปจำนวนสินค้าแต่ละประเภทที่ขาย ราายงานยอดสินค้าคงเหลือ แสดงจุดสั่งซื้อตามเงื่อนไขทางตรรกะ |
ภาษีอากร | ภาษีที่เก็บจากผู้เสียภาษีแต่ละรายในแต่ละวัน ทุกวัน | สรุปรายได้จากภาษี จำแนกภาษีที่เก็บได้จากเงินได้แต่ละประเภทและจัดลำดับ |
ประเมินผลการเรียน | คะแนนสอบแต่ละวิชา ของนักศึกษาแต่ละคน | ผลการเรียน ระดับคะแนน ระดับคะแนนเฉลี่ย ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม |
ความสำคัญของสารสนเทศ
สารสนเทศมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการทุกระดับขององค์การ ทั้งในการปฏิบัติงาน และการบริการ ใช้ช่วยในนการตัดสินใจ การวางแผน และการประเมินผลเปรียบเทียบช่วยเพิ่มระดับความรู้ (Knoeladge) ความเข้าาใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริง สารสนเทศจะมีค่าหรือความหมายมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานมากขึ้นและสารสนเทศนั้นส่งผลกระทบถถึงการตัดสินใจหรือการกระทำที่ดำเนินการ
ข้อมูลและสารสนเทศในความหมายของผู้ใช้
ผู้ใช้ข้อมูลและสารสนเทศแต่ละคน จะมีการรับรู้ต่อข้อมูลและสารสนเทศเดียวกันแตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้งานและหน้าที่ความรับผิดชอบ สารสนเทศสำหรับคนๆหนึ่่งอาจเป็นข้อมูลดิบสำหรับคนอื่นก็ได้ เช่น ใบสั่งให้ส่งเอกสาร เป็นสารสนเทศของพนักงานส่งเอกสาร แต่เป็นข้อมูลดิบของงานสารบรรณ ตัวอย่างการดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารใบสั่งซื้อสินค้า จะมีความหมายและคุณค่าต่อผู้ที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้
1.พนักงานขาย ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าที่ได้จากลูกค้าเป็นสารสนเทศของเขา เพราาะเขาจะต้องจัดสินค้าตามรายการนั้น
2.ผู้จัดการฝ่ายขาย ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าที่ได้จากลูกค้า เป็นข้อมูลของเขา แต่เมื่อนำใบสั่งซื้อทั้งหมกกมาาประมวลสรุปเป็นรายงานประจำเดือนจึงจัดเป็นสารสนเทศของเขา
3.พนักงานบัญชี ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นข้อมูลแต่เมื้อใบสั่งซื้อสินค้านี้ถูกดำเนินการต่อให้เป็นใบส่งของ สำหรับนำไปเก็บเงินลูกค้าและทำบันทึกบัญชีต่อไป จึงจะเป็นสารสนเทศของเขา ซึงจะได้เป็นบัญชีลูกหนี้ บัญชีเงินสด และรายได้จากการขายสินค้า ซึ่งเกิดจากข้อมูลในใบสั่งซื้อนั้น
4.พนักงานอื่นๆ เช่น วิศวกร นักวิจัย ถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเพียงข้อมูลที่่เขาไม่ต้องเกี่ยวข้องด้วยโดยตรง
ค่าแรงของลูกจ้างต่อสัปดาห์ เป็นสารสนเทศของลูกจ้างแต่ละคนที่จะได้รับค่าแรงแต่เป็นข้อมูลของผู้บริหาร และเมื่อรวมค่าแรงทั้งหมดที่ต้องจ่ายใน1 สัปดาห์แล้ว จึงจะถือว่าเป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร